กลุ่มงานรังสีวิทยา


AIR Pneumo Program
การสร้างมาตรฐานผู้เชี่ยวชาญการแปลผลภาพรังสีโรคปอดจากการประกอบอาชีพสำหรับแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ในประเทศไทย และเครือข่าย


AIR Pneumo Program:

การสร้างมาตรฐานผู้เชี่ยวชาญการแปลผลภาพรังสีโรคปอดจากการประกอบอาชีพสำหรับแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ในประเทศไทย และเครือข่าย
ผู้รับผิดชอบ พ.ญ. สุฑารัตน์ ตั้งสกุลวัฒนา กลุ่มงานรังสี สถาบันโรคทรวงอก

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อพัฒนาผู้เชี่ยวชาญการอ่านภาพรังสีโรคนิวโมนิโอซิสตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor organization: ILO)
๒. เพื่อฝึกอบรมพัฒนาเพิ่มพูนความรู้แพทย์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับโรคปอดจากการประกอบอาชีพให้สามารถอ่านภาพรังสีโรคปอดจากการประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานการจำแนกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO classification)
๓. เพื่อประเมินผู้เชี่ยวชาญฯ และให้การรับรองโดยคณะกรรมการความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชีย “Asian Intensive Reading of Radiographs for Pneumoconiosis committee”(AIR Pneumo committee)
๔. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ทั้งภายในและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย
๕. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านโรคปอดจากการประกอบอาชีพ ระหว่างประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชีย
๖. เพื่อสร้างมาตรฐานผู้เชี่ยวชาญฯ ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียให้ทัดเทียมสากล

มาตรฐานผู้เชี่ยวชาญการแปลผลภาพรังสีโรคปอดจากการประกอบอาชีพ

เพื่อให้การแปลผลภาพรังสีทรวงอกเป็นมาตรฐานใกล้เคียงกันมากที่สุด องค์กรแรงงานระหว่างประเทศได้พัฒนาระบบการจำแนกประเภทที่มีมาตรฐานสำหรับการอ่านภาพรังสีทรวงอกเพื่อตรวจหาโรคปอดจากฝุ่น ( ILO classification ). (International Labor Office. Guidelines for the use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses. Revised Edition 2000. Geneva: ILO; 2002)

ILO classification เป็นระบบจำแนกการแปลผลภาพรังสีทรวงอกอย่างเป็นหมวดหมู่ เน้นความผิดปกติของเนื้อปอดและเยื่อหุ้มปอด ซึ่งเป็นพยาธิสภาพหลักที่พบของโรคนิวโมโคนิโอซิส และมีชุดภาพมาตรฐาน (ILO standard radiograph set) ใช้เทียบเคียงความผิดปกติก่อนการบันทึกผลในแบบฟอร์ม บันทึกผล (reading sheet) อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำมากที่สุด

ILO classification เป็นการสร้างมาตรฐานการอ่านฟิล์มปอดจากการประกอบอาชีพ (นิวโมโคนิโอซิส) ให้ได้การวินิจฉัยที่น่าเชื่อถือ ลดปัญหาการวินิจฉัย ที่ขัดแย้งกัน (intra-and interobserver disagreement) จากการวินิจฉัยที่มากเกิน หรือน้อยเกินไป (over and under diagnosis) ของผู้อ่านผล

ILO classification ทำให้มาตรฐานการดูแลสุขภาพคนงานทั่วโลกดีขึ้น มีระบบการเฝ้าระวังโรคและแผนงานการควบคุมเฝ้าระวังโรคแต่เริ่มแรก

การฝึกอบรมการอ่านภาพรังสีทรวงอกตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO classification) เป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัยและติดตามโรคปอดฝุ่น (pneumoconiosis) อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อปรับปรุงการอ่านภาพรังสีทรวงอกและเพื่อรักษาความเชี่ยวชาญของแพทย์ในการใช้มาตรฐาน การแปลผลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO classification ) สถาบันความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขภาพแห่งชาติ (National Institute for Occupational Safety and Health : NIOSH) ของสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาโปรแกรมการรับรอง B Reader ขึ้นในปี 1974 (CDC Centers for Disease Control and Prevention [Internet]. Atlanta, GA: The National Institute for Occupational Safety and Health; [updated 2019 March 4; cited 2019 November 15]

ปัจจุบันการจัดฝึกอบรมการอ่านภาพรังสีทรวงอกโรคปอดฝุ่นหรือนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO classification) ทำโดย National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่รับผิดชอบในการวิจัยและแนะนำ การป้องกันอันตรายจากที่ทำงาน แต่การจะได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ B reader จะต้องเดินทางไปสอบที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคอาเซียนเข้าถึงได้ยาก

การสร้างมาตรฐานผู้เชี่ยวชาญการแปลผลภาพรังสีโรคปอดจากการประกอบอาชีพ สำหรับภูมิภาคเอเซีย เป็นการแก้ปัญหาการแคลนผู้เชี่ยวชาญ B reader ในภูมิภาค ลดปัญหา และการร้องเรียนด้านการวินิจฉัยโรคที่ไม่น่าเชื่อถือ

รายละเอียดของโปรแกรมการรับรอง NIOSH B Reader
• วัตถุประสงค์: โปรแกรมนี้มีเป้าหมายเพื่อฝึกอบรมและรับรองผู้ที่ทำการอ่านและแปลผลภาพเอกซเรย์ปอด (chest x-ray) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับฝุ่น เช่น ซิลิโคซิส และโรคปอดอื่น ๆ ที่เกิดจากฝุ่น (pneumoconiosis)
• การฝึกอบรม: ผู้ที่ต้องการเป็น B Reader จะต้องผ่านการฝึกอบรมและการทดสอบจาก NIOSH เพื่อรับรองความสามารถในการอ่านภาพเอกซเรย์ปอดอย่างถูกต้อง โดย B Readers จะต้องมีความเชี่ยวชาญในการแปลผลภาพเอกซเรย์ปอดเพื่อให้ได้ผลอ่านที่แม่นยำและเชื่อถือได้
• การรับรอง: การรับรอง B Reader ของ NIOSH เป็นการรับรองระดับมืออาชีพที่แสดงถึงความสามารถในการอ่านและแปลผลภาพเอกซเรย์ปอดได้อย่างมีความเชี่ยวชาญ
• การตรวจสอบ: B Readers จะต้องผ่านการทดสอบการอ่านภาพเอกซเรย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาสถานะการรับรองของตน

โปรแกรมนี้มีความสำคัญในการตรวจสอบและวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นอย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยในการควบคุมและป้องกันโรคเหล่านี้ในกลุ่มคนงานที่มีความเสี่ยง ความรู้ความเชี่ยวชาญการด้านการอ่านภาพรังสีทรวงอกตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO classification)(https://www.cdc.gov/niosh/topics/chestradiography /pdfs/B-Reader-Exam-Grading.pdf)

การดำเนินงานของโรคงการ

*ก่อตั้งคณะกรรมการ AIR Pneumo (Asian Intensive Reading of Radiographs of Pneumoconiosis Committee)

เพื่อดำเนินการและพัฒนาโครงการฝึกอบรมและสอบผู้เชี่ยวชาญการอ่านฟิล์มโรคปอดจากการประกอบอาชีพ (AIR Pneumo) อย่างต่อเนื่องและได้มาตรฐาน สถาบันโรคทรวงอกโดยกลุ่มงานรังสีวิทยา กรมการแพทย์ ร่วมกับสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค และ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟุกุอิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นแกนหลักในการสร้างความร่วมมือและเครือข่ายระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย โดยการสนับสนุนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) จัดตั้งคณะกรรมการ AIR Pneumo (Asian Intensive Reading of Radiographs of Pneumoconiosis committee) เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีศาสตราจารย์ยูคิโนริ คุซากะ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ฟุกุอิ เป็นประธานผู้ก่อตั้ง ปัจจุบันสมาชิกประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่าง ๆ อาทิ ประเทศบราซิล (Brazil) ประเทศญี่ปุ่น (Japan) ประเทศอินเดีย (India) ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia) และประเทศไทย (Thailand)

คณะกรรมการ AIR Pneumo ได้ดำเนินการโดยผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ ดังนี้
๑. สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (Central Chest Institute of Thailand, Department of Medical Services, Ministry of Public Health)
๒. คณะกรรมการทางวิทยาศาสตร์ด้านโรคระบบหายใจของคณะกรรมการนานาชาติด้านสุขภาพอาชีวอนามัย (Scientific Committees on Respiratory Diseases, International Commission on Occupational Health: SCRD, ICOH)
๓. สมาคมสุขภาพอาชีวอนามัยแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Society for Occupational Health: JSOH) โดย Research Group for Occupational Lung Diseases (RG-OLD)
๔. สมาคมโรคจาการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย (The Association of Occupational and Environmental Diseases of Thailand: AOET) โดย Research Group for International Cooperation in Occupational Health
๕. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (Bureau of Occupational and Environmental Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health)
๖. สมาคมโรคปอดแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asian Pacific Society of Respirology: APSR)
๗. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor of occupational disease: ILO)
๘. กองทุนทดแทน สำนักงานประกันสังคม (Workmen's compensation fund, Social Security office)


*ประสานความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากสถาบัน และหน่วยงานต่าง ๆ ภายในประเทศ

เพื่อคงมาตรฐานความเชี่ยวชาญของวิทยากรในโครงการ สถาบันโรคทรวงอก โดยกลุ่มงานรังสีวิทยาได้รวบรวมคณะวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการอ่านภาพรังสีโรคปอดจากการประกอบอาชีพตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO classification) ในประเทศไทย ที่ผ่านมาตรฐานการรับรอง NIOH B reader 2004 เป็นคณะวิทยากรและที่ปรึกษาของโครงการในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ กรมการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น

*สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ สถาบันโรคทรวงอก โดยกลุ่มงานรังสีวิทยา ได้จัดให้มีการประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อโครงการพัฒนาความเชี่ยวชาญในการอ่านฟิล์มโรคปอดจากการประกอบอาชีพ (นิวโมโคนิโอซิส) ตามมาตรฐานองค์การระหว่างประเทศ (ILO classification) ในภูมิภาค เมื่อวันที่ 28-30 กรกฎาคม ที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย (“ASEAN Conference for the Development of National Readers for ILO Classification” Project of Cooperation among ASEAN Community Countries to improve the diagnosis and proficiency in Reading Pneumoconiosis Chest Radiographs According to ILO Classification, 28-30 July 2014, Chiangmai, Thailand) ผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนจากประเทศในอาเซียน ได้แก่ บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย และเวียดนาม โดยการประชุมได้ข้อสรุปว่า การส่งเสริมแพทย์ให้มีความสามารถในการอ่านภาพรังสีโรคปอดจากการประกอบอาชีพ (นิวโมโคนิโอซิส) สำคัญต่อการดำเนินการเฝ้าระวัง และการป้องกันโรค การฝึกอบรมสามารถจัดขึ้นผ่านความร่วมมือระดับภูมิภาคในกลุ่มประเทศอาเซียน พร้อมกับการสนับสนุนร่วมจากองค์กรระหว่างประเทศ คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization: ILO) โดยสถาบันโรคทรวงอกเป็นหน่วยงานหลักในการจัดฝึกอบรม และวางแผนขยายการอบรมสู่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค


การประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนเพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญในการอ่านฟิล์มโรคปอดจากการประกอบอาชีพตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ เมื่อ วันที่ 28-30 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

*การสร้างหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการและสอบประเมินผู้เชี่ยวชาญการอ่านภาพรังสีโรคปอดจากการประกอบอาชีพตามมาตรฐานองค์การแรงงานระว่างประเทศในภูมิภาคอาเชีย (Asian Intensive Reading of Radiographs of Pneumoconiosis)

๑. ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้มีการจัดการอบรมและการสอบรับรองการอ่านภาพรังสีโรคปอดจากการประกอบอาชีพตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดย NIOSH (NIOSH B reader) ในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเกิดจากความร่วมระหว่างกรมควบคุมโรค องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และ ศาสตราจารย์ยูคิโนริ คุซากะ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟุกุอิ (Fukui University) ประเทศญี่ปุ่น สถาบันโรคทรวงอกได้ส่งแพทย์เข้าร่วมอบรมและสอบผ่านประเมิน ๓ ท่าน โดยมีแพทย์ที่ผ่านการประเมินทั้งประเทศทั้งหมด ๙ ท่าน ซึ่งก่อนหน้านั้น ได้มีการจัดหลักสูตรการอ่านฟิล์มตามมาตรฐาน ILO classification ให้แก่ รังสีแพทย์และแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ในประเทศไทย โดย NIOSH ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 และมีการอบรมอีกในปี พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2547 และโดยสถาบันโรคทรวงอก ร่วมกับ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพจัดในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งการจัดเหล่านั้นเป็นการให้ความรู้และฝึกอ่านฟิล์ม โดยไม่มีการสอบเพื่อรับรองความสามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญ NIOSH B reader

๒. สถาบันโรคทรวงอก โดยกลุ่มงานรังสีวิทยาได้ดำเนินการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ NIOSH B reader (certified 2004) ในประเทศไทยซึ่งมีทั้งหมด ๙ ท่านในเวลานั้น ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก หลายหน่วยงานในประเทศไทย อาทิ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงการณ์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และแพทย์จาก สถาบันโรคทรวงอก จากโรงพยาบาลราชวิถี และจากโรงพยาบาลเลิศสิน เป็นต้น เพื่อร่วมกันเขียนหลักสูตร กำหนดหัวข้อ รายละเอียดของโครงการฝึกอบรม เพื่อวางแผนจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการ AIR Pneumo ครั้งแรกขี้นใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ประเทศไทย โดยมีการจัดหลักสูตรอบรมพื้นฐาน ILO classification ขึ้นก่อนตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 หลังจากนั้นสถาบันโรคทรวงอกเป็นสถาบันเดียวที่สามารถจัดรองรับผู้สมัครสำหรับโปรแกรมการฝึกอบรมและการสอบหลักสูตร AIR Pneumo โดยโปรแกรมดังกล่าวจัดขึ้นทุกสองปี จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๑ สถาบันโรคทรวงอกได้จัดฝึกอบรมในประเทศเป็นครั้งที่ ๖ และได้มีแพทย์จากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียนอกเหนือจากประเทศในอาเซียนเข้าร่วม อาทิ ภูฏาน ฮ่องกง อินเดีย ไต้หวัน เป็นต้น หลังจากนั้น ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-๑๙ ทำให้ไม่สามารถจัดฝึกอบรมในประเทศไทย จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๖๖ สถาบันโรคทรวงอกได้กลับมาจัดการฝึกอบรมโครงการ AIR Pneumo ขึ้นอีกครั้งเป็นครั้งที่ ๗

*ขยายการจัดโครงการฝึกอบรมและการสอบประเมินผู้เชี่ยวชาญหลักสูตร AIR Pneumo สู่ภูมิภาคอาเซียน

๑. คณะกรรมการ AIR Pneumo โดยสถาบันโรคทรวงอกได้ขยายการจัดอบรมหลักสูตรโครงการร AIR Pneumo นอกประเทศไทยขี้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อ วันที่ 26-28 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (หลักสูตร ILO/AIR Pneumo Training Workshop on Asian Intensive Reading of Radiographs of Pneumoconiosis ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์)

๒. ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ คณะกรรมการ AIR Pneumo โดยสถาบันโรคทรวงอกได้ขยายโครงการฝึกอบรมและการสอบหลักสูตร AIR Pneumo ที่ประเทศอินโดนิเซียเป็นครั้งแรก โดย มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย โรงพยาบาลเพอร์ซาฮาบาตัน (Universitas Indonesia-Persahabatan Hospital) และได้ขยายการจัดโครงการไปยัง โรงพยาบาลเดโปก (Universitas Indonesia-Depok Hospital) โดยความร่วมมือจากสมาคมโรคระบบหายใจอินโดนีเซีย (Indonesian Society of Respirology :ISR) และ สมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์อินโดนีเซีย (Indonesian Occupational Medicine Association) หลังจากนั้นได้ มีการจัดการฝึกอบรมและการสอบหลักสูตร AIR Pneumo ที่ประเทศอินโดนิเซียอีกหลายครั้ง

๓. ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมการ AIR Pneumo โดยสถาบันโรคทรวงอกได้ขยายโครงการฝึกอบรมและการสอบหลักสูตร AIR Pneumo ที่ประเทศเวียดนามเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๖-๑๙ เดือนกันยายน

จนถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ก่อนการพักการจัดโครงการฝึกอบรมเพราะสถาณการณ์การการระบาดของโรคโควิด-๑๙ โครงการ AIR Pneumo ได้จัดการฝึกอบรมและการสอบสำเร็จไปแล้วทั้งหมด ๒๖ ครั้งใน หลายประเทศ คือ อินเดีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย บราซิล ญี่ปุ่น และ ไทย ปัจจุบัน ประเทศไทยได้จัดการฝึกอบรมโครงการ AIR Pneumo เป็นครั้งที่ ๗ และได้ไปจัดที่ประเทศอินโดนิเซีย เป็นครั้งที่ ๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๖

(The 6th Indonesia AIR Pneumjo Training & Workshop on Asian Intensive Reading of ILO Radiograph of Pneumoconiosis; ๓-๕ ตุลาคม ๒๕๖๖, Faculty of Medicine Universitas Trisakti Jakarta)


การประชุมที่ประเทศอินโดนิเซียครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๓-๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ จัดโดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริศักติ ณ กรุงจาการ์ตา

*สถาบันโรคทรวงอกร่วมมือกับสถาบันความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสุขภาพแห่งชาติ (National Institute for Occupational Safety and Health :NIOSH) ประเทศสหรัฐอเมริกา

เพื่อรักษามาตรฐานผู้เชี่ยวชาญ NIOSH B reader ในประเทศไทย สถาบันโรคทรวงอก โดยกลุ่มงานรังสีวิทยา และการสนับสนุนจากกรมควบคุมโรค และ ILO ได้ดำเนินการประสานกับ NIOSH ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดการอบรมและสอบมาตรฐาน NIOSH B reader ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ที่สถาบัน โรคทรวงอก ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ปัจจุบันสถาบันโรคทรวงอกเป็นสถาบันหลักสถาบันเดียวในประเทศไทย ที่จัดการสอบประเมินและต่ออายุผู้เชี่ยวชาญ NIOSH B reader ครั้งล่าสุดปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นครั้งที่ ๔

เนื้อหาหลักสูตรการอ่านภาพรังสีโรคปอดจากการประกอบอาชีพในภูมิภาคเอเชีย (Asian Intensive Reading of Radiographs of Pneumoconiosis According to ILO Classification (AIR Pneumo Training Workshop)

๑) สถานการณ์โรคนิวโมโคนิโอซิสในประเทศไทย (Pneumoconiosis in Thailand)
วัตถุประสงค์ :
เพื่ออธิบายสถานการณ์ปัญหาของโรคนิวโมโคนิซิสในระดับนานาชาติและประเทศไทย
เนื้อหาโดยย่อ :
- ความสำคัญของโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสและสถานการณ์ของโรค
- เป้าหมาย นโยบายและแผนงานการควบคุมและป้องกันโรค
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ : บรรยาย
สิ่งที่คาดว่าผู้เข้าอบรมจะได้รับ :
ได้รับความรู้ความเข้าใจสถาณการณ์ของโรคนิวโมโคนิโอซิส สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้
ในการดูแลสุขภาพของกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อโรค
เอกสารอ้างอิง :
- ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
- ศูนย์ข้อมูล กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
- Liu X, Jiang Q, Wu P, et al. Global incidence, prevalence and disease burden of silicosis: 30 years’ overview and forecasted trends. BMC Public Health. 2023 23;1366.
- รายงานข้อมูลการเฝ้าระวังทางการแพทย์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
- https://oec.world/en/profile/sitc/asbestos-512784

๒) บทนำการอ่านภาพรังสีโรคปอดจากการประกอบอาชีพตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และโครงการ AIR Pneumo ( Introduction to ILO Classification of Radiograph of Pneumoconiosis and AIR Pneumo Training project, Overview of ILO Classification )
วัตถุประสงค์ :
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบภาพรวมของระบบการอ่านฟิล์มตามมาตรฐานของ
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO classification) ตลอดจนความเป็นมาและการดำเนินงานของโครงการ AIR Pneumo
เนื้อหาโดยย่อ :
- ความเป็นมาและรายละเอียดของระบบการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO classification)
- ความเป็นมา การก่อตั้ง วัตถุประสงค์ ของคณะกรรมการ AIR Pneumo
- ผลการดำเนินการของโครงการ AIR Pneumo ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ : บรรยาย
สิ่งที่คาดว่าผู้เข้าอบรมจะได้รับ :
ได้รับความรู้ความเข้าใจภาพรวมของระบบการอ่านโรคนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐาน ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ความเป็นมาและการดำเนินการของโครงการ AIR Pneumo เพื่อสามารถศึกษาและฝึกปฏิบัติรายละเอียดของเนื้อหาและประยุกต์ใช้อย่างเข้าใจ
เอกสารอ้างอิง :
- หนังสือ “คู่มือการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Classification) ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2000” [Certified Translation]
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2011)
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2022)

๓) หลักการพื้นฐานและคุณภาพในการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอด ( Basic principles and quality in chest radiography )
วัตถุประสงค์ :
เพื่อให้ผู้เข้ารับได้ทบทวนความรู้และหลักการพื้นฐานการแปลผลภาพรังสีทรวงอก และสามารถประเมินคุณภาพของภาพตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO classification)
เนื้อหาโดยย่อ :
- ปัจจัยที่มีผลต่อการถ่ายภาพรังสีทรวงอกและการแปลผล
- การควบคุมปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อมขณะอ่านฟิล์มให้มีประสิทธิภาพ
- การเมินคุณภาพของภาพรังสีทรวงอก ตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
- ตัวอย่างภาพรังสีทรวงอกคุณภาพต่าง ๆ เพื่อฝึกการประเมินคุณภาพ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ :
- บรรยายปัจจัยที่มีผลต่อการแปลผลภาพรังสีทรวงอก และหลักการประเมินคุณภาพของภาพเพื่อการแปลผลตามมาตรฐาน ILO
- ศึกษาตัวอย่างฟิล์มคุณภาพต่าง ๆ และการบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม
สิ่งที่คาดว่าผู้เข้าอบรมจะได้รับ :
ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณภาพของภาพรังสีทรวงอก การควบคุมปัจจัยและสภาพแวดล้อมขณะอ่านฟิล์ม สามารถประเมินคุณภาพของภาพตามมาตรฐาน ILO และบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มได้ เอกสารอ้างอิง :
- หนังสือ “คู่มือการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Classification) ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2000” [Certified Translation]
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2011)
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2022)

๔) การทบทวนชุดภาพรังสีมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และการบันทึกผลอ่าน (Review of ILO Standard Radiographs & Recording in the Reading Sheet )
วัตถุประสงค์ :
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทบทวนความรู้จากหลักสูตรพื้นฐานฯ และสร้างความคุ้นเคยกับฟิล์มมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และแบบฟอร์มที่ใช้ในการบันทึก
เนื้อหาโดยย่อ :
- การอ่านฟิล์มเอกซเรย์ปอดตามแนวทางในหนังสือ “คู่มือการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ”
- การบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มในการอ่านฟิล์มตามคู่มือฯ
- รายละเอียดของฟิล์มมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ :
- ศึกษาฟิล์มมาตรฐานพร้อมกับรายละเอียดในหนังสือ “คู่มือการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ” ไปทีละฟิล์ม
- ฝึกหัดบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม
สิ่งที่คาดว่าผู้เข้าอบรมจะได้รับ :
ได้ทบทวนความรู้จากคอร์สพื้นฐานฯ และการศึกษารายละเอียดของฟิล์มมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาในหนังสือคู่มือฯ ได้ดีขึ้น และสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประกอบการอ่านฟิล์มเอกซเรย์ปอดในผู้ป่วยหรือ ผู้ที่ต้องได้รับการคัดกรองโรคนิวโมโคนิโอซิส รวมทั้งบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มได้อย่างเป็นระบบ
เอกสารอ้างอิง :
- หนังสือ “คู่มือการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Classification) ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2000” [Certified Translation]
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2011)
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2022)

๕) ทบทวนสัญลักษณ์ ต่าง ๆ ( Review of Additional symbols )
วัตถุประสงค์ :
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทบทวนสัญญาลักษณ์ ต่างๆ และความหมายในการอ่านภาพรังสีตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
เนื้อหาโดยย่อ :
- อธิบายสัญลักษณ์และความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ในการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ :
- บรรยาย แสดงตัวอย่างประกอบและการบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม
สิ่งที่คาดว่าผู้เข้าอบรมจะได้รับ :
ได้ทบทวนลักษณะสัญญาลักษณ์ ต่างๆ และความหมายในการอ่านภาพรังสีตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และสามารถบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มได้
เอกสารอ้างอิง :
- หนังสือ “คู่มือการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Classification) ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2000” [Certified Translation]
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2011)
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2022)

๖) ทบทวนการอ่านเงาผิดปกติของเยื่อหุ้มปอด ( Review of pleura abnormalities )
วัตถุประสงค์ :
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทบทวนลักษณะความผิดปกติของเยื่อหุ้มปอดที่พบจากภาพรังสีโรคนิวโมโคนิโอซิส จำแนกชนิด ปริมาณ ตำแหน่งการกระจายตัว และบันทึกผลในแบบฟอร์ม ตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
เนื้อหาโดยย่อ :
- ลักษณะความผิดปกติของเยื่อหุ้มปอดจากภาพรังสีที่พบในโรคนิวโมโคนิโอซิส
- ชนิดต่างๆ ปริมาณ และตำแหน่งของความผิดปกติจำแนกตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
- การบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มในการอ่านฟิล์มตามคู่มือฯ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ :
- ศึกษา ฝึกทักษะการดูความแตกต่างของชนิดและตำแหน่งของลักษณะผิดปกติในเยื่อหุ้มปอด
- จำแนกลักษณะ ปริมาณ และตำแหน่งความผิดปกติตามมาตรฐาน ILO
- ฝึกหัดบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม
สิ่งที่คาดว่าผู้เข้าอบรมจะได้รับ :
ได้ทบทวนและฝึกการจำแนกความผิดปกติชนิดต่าง ๆ ของเยื่อหุ้มปอดจากภาพรังสีตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และสามารถบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มได้
เอกสารอ้างอิง :
- หนังสือ “คู่มือการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Classification) ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2000” [Certified Translation]
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2011)
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2022)

๗) ทบทวนการอ่านเงาผิดปกติขนาดเล็กในเนื้อปอด ( Review of small rounded and irregular opacities )
วัตถุประสงค์ :
เพื่อทบทวนลักษณะเงาทึบขนาดเล็กในเนื้อปอดที่พบจากภาพรังสีโรคนิวโมโคนิโอซิส จำแนกลักษณะ ชนิด ขนาด ปริมาณ และบันทึกผลในแบบฟอร์ม ตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ เนื้อหาโดยย่อ :
- ลักษณะความผิดปกติในเนื้อปอดที่พบจากภาพรังสีโรคนิวโมโคนิโอซิส
- ชนิดต่างๆ ขนาด ปริมาณ ของเงาทึบขนาดเล็กในเนื้อปอด ที่จำแนกตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
- การบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มในการอ่านฟิล์มตามคู่มือฯ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ :
- ศึกษา ฝึกทักษะการดูความแตกต่างของลักษณะเงาทึบขนาดเล็กในเนื้อปอด
- เปรียบเทียบความผิดปกติกับฟิล์มมาตรฐาน เพื่อจำแนกลักษณะและปริมาณความผิดปกติ
- ฝึกหัดบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม
สิ่งที่คาดว่าผู้เข้าอบรมจะได้รับ :
ได้ทบทวนและฝึกการแปลผลภาพรังสีที่มีความผิดปกติขนาดเล็กในเนื้อปอด เทียบกับฟิล์มมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และสามารถบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มได้
เอกสารอ้างอิง :
- หนังสือ “คู่มือการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Classification) ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2000” [Certified Translation] - Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2011)
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2022)

๘) ทบทวนการอ่านเงาผิดปกติขนาดใหญ่ในเนื้อปอด ( Review of large opacities )
วัตถุประสงค์ :
เพื่อทบทวนจำแนกลักษณะเงาทึบขนาดใหญ่ในเนื้อปอดที่พบจากภาพรังสีโรคปอดนิวโมโคนิโอซิส และบันทึกผลในแบบฟอร์ม ตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
เนื้อหาโดยย่อ :
- ความลักษณะเงาทึบขนาดใหญ่ในเนื้อปอดที่พบจากภาพรังสีโรคปอดนิวโมโคนิโอซิส
- ชนิดต่างๆ ของเงาทึบขนาดใหญ่ ในเนื้อปอด ที่จำแนกตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
- การบันทึกลักษณะความผิดปกติลงในแบบฟอร์ม
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ :
- ศึกษาลักษณะเงาทึบขนาดใหญ่ในเนื้อปอดชนิดต่างๆ
- ความแตกต่างของเงาทึบขนาดใหญ่ กับเงาชนิดอื่น
- ฝึกหัดบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม
สิ่งที่คาดว่าผู้เข้าอบรมจะได้รับ :
ได้ทบทวนเงาผิดปกติขนาดใหญ่ในเนื้อปอดจากภาพรังสีที่พบในโรคปอดนิวโมโคนิโอซิส และจากสาเหตุอื่น ๆ และสามารถมีความรู้ ความเข้าใจในการบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มได้อย่างถูกต้อง
เอกสารอ้างอิง :
- หนังสือ “คู่มือการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Classification) ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2000” [Certified Translation]
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2011)
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2022)

๙) ฝึกปฏิบัติการอ่านฟิล์มและบันทึกผล 30 ฟิล์ม ( Self-practice of x-ray film reading ) (3 นาที ต่อ ฟิล์ม)
วัตถุประสงค์ :
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกทักษะและความมั่นใจในการอ่านฟิล์มโรคนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และฝึกการบันทึกผลในแบบฟอร์มอย่างเป็นระบบ
เนื้อหาโดยย่อ :
- การฝึกอ่านฟิล์มเอกซเรย์ปอดตามแนวทางในหนังสือ “คู่มือการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ”
- การฝึกใช้ฟิล์มมาตรฐานในการเปรียบเทียบเพื่ออ่านฟิล์มโรคนิวโมโคนิโอซิส
- การฝึกการบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ :
- อ่านฟิล์มและลงผลข้อมูลในแบบฟอร์ม จำนวน 30 ฟิล์มภายในเวลา 90 นาที
- เฉลยคำตอบและตรวจสอบผลด้วยตัวเอง
- ตอบข้อสงสัยและแสดงฟิล์มประกอบคำตอบ โดยทีมวิทยากร
สิ่งที่คาดว่าผู้เข้าอบรมจะได้รับ :
ผู้เข้าอบรมมีทักษะและความมั่นใจในการอ่านฟิล์มโรคนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และสามารถบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มได้อย่างถูกต้องเป็นระบบ
เอกสารอ้างอิง :
- หนังสือ “คู่มือการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Classification) ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2000” [Certified Translation]
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2011)
- Guidelines for the Use of the ILO International Classification of Radiographs of Pneumoconioses (revised edition 2022)


บรรยายกาศในห้องประชุม “การอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย” ครั้งที่ ๗ ที่สถาบันโรคทรวงอก ประเทศไทย วันที่ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (The 7th Asian Intensive Reading of Radiographs of Pneumoconiosis: AIR Pneumo program)

โครงการ “การอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย” ในประเทศไทย (Asian Intensive Reading of Radiographs of Pneumoconiosis: AIR Pneumo training and workshop in Thainland)

วัตถุประสงค์:
๑. เพื่อเป็นการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญและเตรียมความพร้อมการเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
๒. เพื่อฝึกอบรมพัฒนาเพิ่มพูนความรู้แพทย์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับโรคปอดจากการประกอบอาชีพให้สามารถอ่านฟิล์มโรคปอดจากการประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ILO
๓. เพื่อประเมินผู้เชี่ยวชาญการอ่านฟิล์มตามมาตรฐาน ILO และให้การรับรองโดย AIR Pneumo committee
๔. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ทั้งภายในและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย
๕. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านโรคปอดจากการประกอบอาชีพ ระหว่างประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชีย
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม:
๑. แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปหรือแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ไทยที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพื้นฐาน ILO classification
๒. รังสีแพทย์ แพทย์อายุรศาสตร์โรคปอด และแพทย์จากต่างประเทศที่มีประสบการณ์ การอ่านฟิล์มตามมาตรฐาน ILO
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม: ไม่เกิน ๘๐ คน
ระยะเวลาในการฝึกอบรม: ๔ วัน (เดือนธันวาคม ทุก ๒ ปี)
สถานที่ดำเนินโครงการ: สถาบันโรคทรวงอก อ.เมือง จ.นนทบุรี
หลักสูตรและหัวข้อวิชา:
หลักสูตรภูมิภาคเอเชีย “การอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO classification)”
วิธีการดำเนินการ: การบรรยาย ฝึกปฏิบัติ และประเมินผลโดยการสอบภาคปฏิบัติ
วิทยากร:
๑. วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
๒. วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญในประเทศ
๓. วิทยากรควบคุมการสอบจากประเทศญี่ปุ่น
งบประมาณ : กองทุนทดแทน สำนักงานประกันสังคม
ค่าลงทะเบียน: -
(งบประมาณค่าใช้จ่ายของผู้ร่วมประชุมสัมมนา ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก พาหนะเดินทางของผู้เข้ารับการอบรมเบิกจากต้นสังกัด)
การประเมิน:
ตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงปริมาณ :
จำนวนแพทย์ (ที่ไม่เคยเข้ารับการอบรมมาก่อน) จากกลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่า ๒๕ คน
ตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงคุณภาพ :
๑. แพทย์ที่เข้ารับการอบรมสามารรถสอบผ่านได้รับใบประกาศนียบัตรไม่น้อยกว่า๘๐% ของจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
๒. แพทย์ที่เข้ารับการสอบเพื่อต่ออายุประกาศนียบัตร สามารรถสอบผ่านได้รับใบประกาศนียบัตรไม่น้อยกว่า ๘๐ % ของจำนวนผู้เข้ารับการสอบ
การรับรองผลการอบรม:
๑. ผู้เข้ารับการอบรม ต้องเข้าอบรมเต็มจำนวนวัน ตามกำหนดการ จึงจะได้รับประกาศนียบัตรเข้าร่วมการอบรม
๒. ผู้เข้าอบรมสอบปฏิบัติการอ่านฟิล์มผ่าน จึงจะได้รับประกาศนียบัตรการรับรองเป็นผู้เชี่ยวชาญ AIR Pneumo (Asian Intensive Reader of Pneumoconiosis)
ผู้รับผิดชอบโครงการ:
กลุ่มงานรังสีวิทยา สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

โครงการจัดสอบการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ” ในประเทศไทย ( NIOSH B reader Program)

วัตถุประสงค์:
เพื่อให้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการอ่านฟิล์มที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานต่างประเทศ สำหรับเป็นที่ปรึกษาในการวินิจฉัยโรคปอดจากการประกอบอาชีพที่ยุ่งยากซับซ้อนรวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับกองทุนเงินทดแทนในกรณีที่พิจารณาเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคปอดจากการทำงาน และแพทย์กลุ่มนี้จะทำหน้าที่เป็นวิทยากรเพื่อถ่ายทอดความรู้ความสามารถให้กลุ่มแพทย์ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับโรคปอดจากการทำงานในประเทศไทยต่อไปในอนาคตรวมถึงการอบรมการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสให้แก่แพทย์ทั่วประเทศไทยและประเทศในเครือข่ายภูมิภาคอาเซียน
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม:
๑. แพทย์ผู้เขี่ยวชาญ NIOSH B reader ที่ต้องการต่ออายุ
๒. รังสีแพทย์ แพทย์อายุรศาสตร์โรคปอด และแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ที่ผ่านการสอบประเมินผู้เชี่ยวชาญ AIR Pneumo
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม: ไม่เกิน ๘๐ คน
ระยะเวลาในการฝึกอบรม: ๔ วัน ( เดือนธันวาคมทุก ๔ ปี )
สถานที่ดำเนินโครงการ: สถาบันโรคทรวงอก อ.เมือง จ.นนทบุรี
หลักสูตรและหัวข้อวิชา:
หลักสูตรสากล “การอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO classification)” : NIOSH B reader program
วิธีการดำเนินการ:
แพทย์กลุ่ม ๑ (สอบเพื่อต่ออายุใบประกาศนียบัตร: recertification )
ฟังการบรรยายภาคทฤษฎีและการฝึกอ่านฟิล์มมาตรฐานเป็นเวลา ๒ วันและสอบเป็นเวลา ๑ วัน
แพทย์กลุ่ม ๒ (สอบครั้งแรก: new comer)
ฟังบรรยายและฝึกอ่านฟิล์มเป็นเวลา ๓ วันและสอบเป็นเวลา ๑ วัน
การสอบ:
ฟิล์มที่สอบจำนวน: ๖๐ ฟิล์มต่อ ๓ ชั่วโมง ( กลุ่มต่ออายุ)
: ๑๒๐ ฟิล์ม เช้า-บ่าย (กลุ่มเข้าสอบใหม่)
การนำผลสอบกลับไปทำการตรวจและแจ้งผลกลับให้ผู้เข้าสอบโดยตรงโดย NIOSH
วิทยากร:
๑. วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
๒. วิทยากรควบคุมการสอบจาก NIOSH
งบประมาณ : กองทุนทดแทน สำนักงานประกันสังคม
ค่าลงทะเบียน: -
การประเมินและการรับรองผลสอบ: โดย NIOSH
ผู้รับผิดชอบโครงการ: กลุ่มงานรังสีวิทยา สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์

การรับรองมาตรฐานผู้เชี่ยวชาญโดยผ่านการสอบประเมินการอ่านฟิล์มตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO classification )

เพื่อสร้างมาตรฐานการแปลผลภาพรังสีโรคปอดจากการประกอบอาชีพ คณะกรรมการ AIR Pneumo จัดให้มีการสอบปฏิบัติการอ่านฟิล์มตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยจัดและควบคุมการสอบโดยคณะกรรมการประเทศญี่ปุ่น

ผู้เชี่ยวชาญ AIR Pneumo : รับรองโดย Chair of AIR Pneumo committee
คุณสมบัติผู้มีสิทธิสอบ:
๑. แพทย์ผู้เขี่ยวชาญ AIR Pneumo ที่ต้องการต่ออายุ
๒. รังสีแพทย์ แพทย์อายุรศาสตร์โรคปอด และแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ที่เข้าอบรมหลักสูตร AIR Pneumo

การสอบ:
ฟิล์มที่สอบจำนวน: ๖๐ ฟิล์มต่อ ๓ ชั่วโมง
กระดาษคำตอบจะถูกนำกลับไปทำการตรวจและแจ้งผลกลับโดย AIR Pneumo ประเทศญี่ปุ่น
: การวัดผลสอบผู้เข้าอบรมและสอบใหม่จะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ๖๐ % จึงจะได้รับประกาศนียบัตรการรับรองเป็นผู้เชี่ยวชาญ AIR Pneumo (Asian Intensive Reader of Pneumoconiosis) ใบรับรองมีอายุ 4 ปี ( จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้ปรับเป็น ๕ ปี )
: ผู้เข้าสอบเพื่อต่ออายุจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ๘๐% จึงจะคงสถานความเป็นผู้เชี่ยวชาญ

บรรยากาศในห้องขณะฝึกปฏิบัติ “การอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย” ครั้งที่ ๗ ที่สถาบันโรคทรวงอก ประเทศไทย วันที่ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (The 7th Asian Intensive Reading of Radiographs of Pneumoconiosis: AIR Pneumo program)


บรรยายกาศในห้องสอบ เพื่อการรับรองเป็นผู้เชี่ยวชาญ AIR Pneumo “โครงการการอ่านฟิล์ม โรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย”


ประการศนียบัตรรับรองการเป็นผู้เชี่ยวชาญ AIR Pneumo “การอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย”


คณะวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรม “การอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย” ครั้งที่ 6 ที่สถาบันโรคทรวงอก ประเทศไทย วันที่ 19-21 ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ (The 6th Asian Intensive Reading of Radiographs of Pneumoconiosis: AIR Pneumo program)


คณะวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรม “การอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิสตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย” ครั้งที่ ๗ ที่สถาบันโรคทรวงอก ประเทศไทย วันที่ 6-8 ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (The ๗th Asian Intensive Reading of Radiographs of Pneumoconiosis: AIR Pneumo program)

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนผู้เข้าอบรมใหม่ที่สอบผ่านการประเมินต่อผู้เข้าสอบประเมิน ( n= 265 คน) แจกแจงตามครั้งที่สอบ

ครั้งที่/ปี พ.ศ.

คนไทย

ต่างชาติ

  รวม

1/2551

23/24 (96%)

4/5 (80%)

27/29 (93%)

2/2553

20/21 (95%)

2/3 (67%)

22/24 (92%)

3/2555

13/14 (93%)

3/3 (100%)

16/17 (94%)

4/2557

22/24 (92%)

7/9 (78%)

29/33 (88%)

5/2559

19/21 (91%)

12/13 (92%)

31/34 (91%)

6/2561

22/22 (100%)

26/37 (70%)

48/59 (81%)

7/2566

59/62 (95%)

6/7 (86%)

66/69 (96%)

รวม

178/188 (95%)

60/77 (78%)

238/265 (90%)













ตารางที่ 2 แสดงผู้เข้าอบรมใหม่ที่เป็นชาวต่างชาติจากประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย แจกแจงจำนวนตามครั้งที่สอบ (n=77 คน)

ปี พ.ศ.

2551

2553

2555

2557

2559

2561

2566

 

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 4

ครั้งที่ 5

ครั้งที่   6

ครั้งที่ 7

รวม

ญี่ปุ่น

2

1

-

-

-

-

-

จีน

1

-

1

-

-

-

-

สาธารณรัฐคองโก

1

-

-

-

-

-

-

อินเดีย

-

1

-

-

1

7

-

ฮ่องกง

-

-

1

-

1

-

-

ปากีสถาน

-

-

1

-

-

-

-

ไต้หวัน

-

-

-

-

-

3

-

มองโกเลีย

-

-

-

-

-

-

-

ภูฏาน

-

-

-

-

1

-

-

อินโดนิเซีย

-

-

-

5

7

17

1

๓๐

มาเลเซีย

-

-

-

-

2

9

3

๑๔

ฟิลิปปินส์

-

-

-

1

1

-

-

เวียดนาม

1

1

-

-

-

-

-

เขมร

-

-

-

2

-

1

-

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

-

-

-

-

-

-

-

บรูไน

-

-

-

1

-           

-

-

รวม

5

3

3

9

13

37

7

๗๗



งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
นอกจากการจัดการฝึกอบรมแล้ว คณะกรรมการโครงการ AIR Pneumo ยังได้ทำการวิจัย และเผยแพร่ผลงานเกี่ยวกับโครงการ ดังนี้

1. Asian Intensive Reader of Pneumoconiosis program: examination for certification during 1008-2020
: Naw Awn J-P, Agus Dwi Susanto, Erlang Samoedro, Muchtaruddin Mansyur,
Sutarat Tungsagunwattana, Saijai Lertrojanapunya, Ponglada Subhannachart, Somkiat Siriruttanapruk, Narongpon Dumavibhat, et al.
Industrial Health. Published online in J-STAGE July 5, 2023

2. Inter-observer agreement and accuracy in classifying radiographs for pneumoconiosis among Asian physicians taking AIR Pneumo certification Examination.
: Naw Awn J-P, Agus Dwi Susanto, Erlang Samoedro, Muchtaruddin Mansyur,
Sutarat Tungsagunwattana, Saijai Lertrojanapunya, Ponglada Subhannachart, Somkiat Siriruttanapruk, Narongpon Dumavibhat, et al.
Industrial Health 2022; 60:459 – 469. Published online in J-STAGE November 23, 2021
DOI https://doi.org/10.2486/indhealth.2021-0210

๓. The 60-Film Set with 8-index for Examining Physicians’ Proficiency in Reading Pneumoconiosis Chest X-rays.
:Huashi Zhou, Yukinori Kusaka, Taro Tamura, Narufumi Suganuma,
Ponglada Subhannachart, Somkiat siriruttanapruk, Narongpon Dumavibhat, et al.
Industrial Health 2012; 50:84–94. Published online in J-STAGE February 3, 2012

๔. Proficiency in Reading Pneumoconiosis Radiographs Examined by the 60-film Set with 4-factor Structuring 8-index.
:Huashi Zhou1, Yukinori KuSaKa, Taro TamuRa, Narufumi SugaNuma,
Ponglada Subhannachart, Somkiat siriruttanapruk, Narongpon Dumavibhat, et al. Industrial Health 2012; 50:142–146. Published online in J-STAGE February 3, 2012

๕. Assessment of physicians’ proficiency in reading chest radiographs for pneumoconiosis, based on a 60-film examination set with two factors constituting eight indices.
: Taro Tamura, Yukinori Kusaka, Narufumi Suganuma, Kazuhiro Suzuki, Ponglada Subhannachart, Somkiat Siriruttanapruk, Narongpon Dumavibhat, et al.
Industrial Health 2018; 56:382–393. Published online in J-STAGE May 26, 2018

๖. Quality assurance in reading radiographs for pneumoconiosis: AIR Pneumo program
: Naw Awn J-P M.D., Ph.D., Narufumi Suganuma M.D., Ph.D.
The ASEAN Journal of radiology 2020 Jan-Apr ;12(1):73-74.




ติดต่อ :

74 ถ.ติวานนท์ ต.บางกระสอ อ.เมือง นนทบุรี 11000

โทร. 02-547-0999

แฟกซ์. 2-547-0935

สายด่วนโรคหัวใจ 1668

การตรวจรักษา/อาการ

คลินิกโรคหัวใจ ติดต่อ 02-547-0859
คลินิกโรคปอด ติดต่อ 02-547-0860
คลินิกบุหรี่ ติดต่อ 02-547-0927
คลินิกศัลยกรรม ติดต่อ 02-547-0883
คลินิก TB Clinic ติดต่อ 02-547-0415